โรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

Last updated: 19 ส.ค. 2561  |  6997 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ

โรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ
 

  ในผู้สูงอายุเซลล์และเนื้อเยื่อทุกชนิดของร่างกายจะเกิดการเสื่อมลงรวมทั้งของหูรูด ดังนั้นจึงเกิดการหย่อนยาน การทำงานของอวัยวะประสิทธิภาพจะลดลง อาหารและกรดในกระเพาะอาหารจึงดันย้อนกลับเข้าในหลอดอาหาร

 อีกทั้งกระเพาะอาหารจะบีบตัวลดน้อยลง อันเนื่องมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น จากอายุที่มากขึ้น (อายุ 40 ปีขึ้นไป เซลล์ต่างๆทุกชนิดของร่างกายรวมทั้งของหูรูดและของกระเพาะอาหารจะค่อยๆเสื่อมลงๆ) หรือ จากการอักเสบของกระเพาะอาหาร หรือของเส้นประสาทบริเวณกระเพาะอาหาร หรือจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาคลายเครียด ยาลดกรด ยาบรรเทาปวดกล้ามเนื้อ หรือจากสารบางอย่างที่ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนยาน เช่น สุรา/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจากการบีบตัวลดลง จึงส่งผลให้เกิดการคลั่งของอาหารและกรด จึงเพิ่มแรงดันในกระ เพาะอาหารดันให้หูรูดนี้เปิด อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุ ได้แก่


·  อายุยิ่งสูงขึ้น โอกาสเกิดโรคนี้ยิ่งสูงขึ้น

·  การกินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณสูง โดยเฉพาะกินมื้อเย็นก่อนนอน เพราะปริมาณอาหารยังค้างอยู่ในกระเพาะอาหาร และการนอนราบยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาหารและกรดจึงไหลย้อนกลับเข้าหลอดอาหารได้ง่าย

·  บุหรี่ เพราะมีสารพิษ เพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร และอาจทำให้การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง

·  โรคเรื้อรังต่างๆที่มีผลต่อการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งของกระเพาะอาหารและของเส้น ประสาทกระเพาะอาหารเช่น โรคเบาหวาน และโรคที่ส่งผลให้มีการไอเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง

·  โรคอ้วน เพราะจะทำให้ความดันในช่องท้องสูงขึ้น ความดันในกระเพาะอาหารจึงสูงขึ้น

·  โรคของกะบังลม ซึ่งมักเป็นแต่กำเนิด ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมหย่อนหรือมีช่อง กระเพาะอา หารจึงดันเข้าไปอยู่ในช่องอก ส่งผลให้มีอาหารค้างในกระเพาะอาหาร รวมทั้งเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารด้วย

·  โรคกล้ามเนื้อ และ/หรือ ของเนื้อเยื่อต่างๆ (พบได้น้อย) ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และ/หรือเนื้อเยื่อหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานด้อยประสิทธิภาพลง

    แนวทางการรักษาอาการกรดไหลย้อนในผู้สูงอายุนั้นจะคล้ายคลึงกับการดูแลในวัยอื่นๆ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต การทานปริมาณอาหารแต่ละมื้อที่น้อยลง การเลี่ยงอาหารและผลไม้รสเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด การรักษาอาการด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ”ขมิ้นชัน และกล้วยน้ำว้า” หรืออื่นๆ สามารถอ่านวิธีการรักษาตัวเพิ่มเติมได้ที่บทความอื่นๆของทางเรา

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้