Last updated: 8 ก.ค. 2561 | 3926 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคมะเร็งหลอดอาหารเป็นโรคที่ติด1 ใน 10 อันดับแรกของโรคมะเร็งชนิดที่พบบ่อยในชายไทย เป็นโรคมะเร็งในผู้ใหญ่ มักพบในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิง
สาเหตุของการก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เซลล์ของหลอดอาหารมีการเจริญเติมโตมากเกินปกติ จนทำให้เกิดเป็นเชื้อมะเร็งได้นั้น ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีการวิเคราะห์กันว่า อาจะเกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังต่อไปนี้
1. การสูบบุหรี่ เป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่นั้น เป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เกือบทุกชนิด เนื่องจากสารประกอบบางอย่างในบุหรี่จะไปกระตุ้นให้เชื้อมะเร็งมีการก่อตัวขึ้นภายในร่างกาย
2. ความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการแบ่งตัว และการตายของเซลล์ปกติ โดยข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
3. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ เป็นเวลานานๆติดต่อกันนั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารมากว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
4. การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น ผู้ที่ทานผลไม้น้อยจะมีความเสี่ยงมากว่าผู้ที่ทานผลไม้ปกติ และยังรวมถึงผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ บ่อยๆอีกด้วย
5. เชื้อชาติ เนื่องจากคนในบางเชื้อชาติ จะสามารถตรวจพบโรคมะเร็งหลอดอาหารได้มากว่าชาติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติจีน อินเดีย และอิหร่าน เป็นต้น
6. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวในเกณฑ์มาตรฐานจนถึงระดับการเป็นโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงมากว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ
7. การบริโภคอาหารที่เป็นสารก่อมะเร็งบ่อยๆ เช่นอาหารประเภทปิ้งย่าง อาหารที่ใส่สารกันบูด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูป หรือผ่านการถนอมอาหารบางประเภทด้วย
8. เป็นโรคเรื้องรังเกี่ยวกับหลอดอาหาร ผู้ที่มีภาวะของการเจ็บป่วยเกี่ยวกับหลอดอาหารบ่อยๆ และเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารมากว่าคนปกติ
9. ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากภาวะกรดไหลย้อนจะส่งผลให้ เยื่อบุภายในหลอดอาหารเกิดการบาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อเนื่องจนอาจนำไปสู่มะเร็งในหลอดอาหารได้
10. ผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งชนิดอื่นๆมาก่อน โดยเฉพาะมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับศีรษะและลำคอจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารมากกว่าผู้ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคประเภทนี้มาก่อน
11. การได้รับสารเคมีบางชนิดบ่อยๆ อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ เช่น จากอาชีพในการทำงาน การเผลอกลืนสารเคมีบางชนิดเข้าไป ได้แก่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น เข้าไปสะสมจนทำให้เกิดเป็นตัวกระตุ้นมะเร็งนั่นเอง
อาการของมะเร็งหลอดอาหาร
โรคมะเร็งหลอดอาหารในระยะเริ่มแรก มักจะไม่แสดงอาการอะไร แต่เมื่อเป็นมากขึ้นจะแสดงอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคที่พบในบริเวณหลอดอาหาร คือ
· กลืนอาหารไม่สะดวก รู้สึกติด กลืนแล้วเจ็บ ตามตำแหน่งต่างๆ ตั้งแต่บริเวณลำคอจนถึงระดับลิ้นปี่ ซึ่งจะเริ่มด้วยการกลืนอาหารแข็งลำบาก และต่อมาจะกลืนอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม ลำบากมากขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะกลืนน้ำหรือ น้ำลายไม่ได้
· สำลักเวลากลืน หรือไอขณะกินอาหาร
· มีน้ำลาย หรือเสมหะปนเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด
· เมื่ออาการเหล่านี้เป็นมากขึ้นจะส่งผลให้กินอาหารได้น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว และเมื่อโรคลุกลามเข้าประสาทกล่องเสียง ผู้ป่วยอาจมีเสียงแหบลง คลำต่อมน้ำเหลืองที่ไหปลาร้า หรือที่คอที่โตขึ้นได้ หรือแสดงอาการที่เกิดจากโรคมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ปวดหลัง เมื่อโรคแพร่ กระจายเข้าสู่กระดูกสันหลัง เป็นต้น
โดยมะเร็งหลอดอาหารจะมีด้วยกัน 4 ระยะ คือ
· ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็ก อยู่เฉพาะภายในหลอดอาหาร
· ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งลุกลามถึงเนื้อเยื่อชั้นนอกของหลอดอาหาร และ/หรือลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง 1-2 ต่อม
· ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งลุกลามออกมาทะลุเนื้อเยื่อชั้นนอกของหลอดอาหารเข้าสู่อวัยวะ /เนื้อเยื่อข้างเคียง และ/หรือ มีการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงมากกว่า 2 ต่อมขึ้นไป
· ระยะที่ 4 โรคมะเร็งแพร่กระจายเข้าต่อมน้ำเหลืองไกลๆ เช่น ในช่องท้อง ไหปลาร้า หรือที่คอ และ/หรือ เข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่พบบ่อย คือ ปอด กระดูกตับ และผิวหนัง
ในปัจจุบัน สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหารยังไม่ปรากฏแน่ชัด จึงยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ แต่มีข้อแนะนำ เพราะอาจลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ
- ไม่สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อีกมากมาย หากทั้งสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้น จึงไม่ควรสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดี
- งดหรือควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หากเป็นผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มในปริมาณที่พอดี การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้มากขึ้น
- ควบคุมน้ำหนัก และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ น้ำหนักตัวเกินหรือภาวะอ้วนอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคนี้ หากสามารถควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และรับประทานจำพวกผักผลไม้ อาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้
- รักษาโรคกรดไหลย้อน หรือภาวะหลอดอาหารอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้น จึงควรรักษาและควบคุมอาการป่วยให้ดี
สนับสนุนโดย:
6 ก.ค. 2561
27 ส.ค. 2561