Last updated: 15 ก.ค. 2561 | 2587 จำนวนผู้เข้าชม |
การกินมากไปก็ทำให้เป็นผลเสียกับลำไส้ ซึ่งการกินแบบจัดหนักของท่านในแต่ละครั้งโดยเฉพาะบุฟเฟ่ต์ และท่านยังชอบทานจนอิ่มหนักมาถึงคอหอยเพราะกลัวจะไม่คุ้ม จะก่อให้เกิดอาการต่างๆตามมาดังต่อไปนี้
เริ่มตั้งแต่ หิวไว คนกินหนักจะรู้สึกหิวไวในมื้อต่อไป เพราะกระเพาะลำไส้ต้องทำงานหนักในการย่อยมื้อใหญ่ที่ท่านพึ่งทานไป และน้ำตาลในเลือดก็จะลดไวทำให้เกิดอาการน้ำตาลต่ำหิวไวง่ายขึ้น
กินมากๆ ยังทำ ไส้พัง เครื่องในก็เหมือนเครื่องยนต์รถที่ไม่ได้พักการใช้งานก็จะเสื่อมเร็วกว่าปกติ อาหารที่เข้าไปมากเกินก็ทำให้ลำไส้เกิดปัญหา “รั่ว” ได้ และจากการบีบตัวของลำไส้ไม่ได้พักก็ทำให้ “กรดไหลย้อน” มาถามหาได้เหมือนกัน
อาหารล้นท้องพลอยจะเจออาการ ตาตั้ง ถ้าไม่ระวังกินจนอิ่มจัดจะทำให้เกิดอาการ “ตื่นตา” นอนไม่หลับเพราะลำไส้ไม่ได้พักและเกิดการแน่นอึดอัดท้องจากแก็สในอาหารที่หมักกันจนพุงหลามได้เหมือนถังเบียร์ หมักอาหารจนเน่าสร้างแก๊สอยู่ภายในท้อง และลำไส้
กินจุคงเลี่ยง ตัวอ้วน ได้ยาก ซึ่งตรงมาและตรงไปในบริบทของผู้รักบริโภค ยิ่งกินมื้อหนักอย่างบุฟเฟ่ต์มากเท่าไรก็ยิ่งได้แคลอรีส่วนเกินที่ลดยากขึ้นเท่านั้น เพราะการกินหนักเป็นในบางมื้อทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะเครียดและตับพังมีการหลั่งฮอร์โมนมารออกมาเพื่อเก็บไขมันไว้ให้มากขึ้นเพิ่มพูนน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
ทั้งยัง ชวนหงุดหงิดง่าย ชีวิตแห่งการกินจะไม่มีวันสงบสุขด้วยอารมณ์ที่แปลปรวนขึ้นลงจากลิ้นที่ยึดรสชาติอาหารเป็นหลัก จะว่าคนอ้วนอารมณ์ดีนั้นก็ถูก แต่คนกินเก่งนั้นยากที่จะหาพื้นอารมณ์ที่แน่นมั่นคงได้เพราะเคมีในร่างกายต้องมีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่อาหารเข้าปากและหนึ่งในเคมีที่ว่าคือ “เคมีแห่งอารมณ์”
และสุดท้าย คิดไม่ออก คนกินอิ่มจัดไปทำให้ “หัวไม่แล่น” หนึ่งคือ เลือดจะพากันไปเลี้ยงกระเพาะและลำไส้เสียมาก กับสองคือจาก “โกร๊ทฮอร์โมน” ไม่หลั่ง ทำให้ไม่มีพลังทั้งแรงกายและแรงใจที่ใช้คิด ถ้าอยากมีสมองที่แจ่มใสขึ้นควรกินแบบ “หิวนิดๆ” เป็นการสงวนความคิดไว้ไม่ให้จมไปกับมื้อหนักจนหมด
การกินเยอะแล้วยังฟีเจอริ่งด้วยของหวานอีกก็ถือเป็นอันตรายของการบริโภคเหมือนกัน อย่าสำคัญตัวผิดว่าเป็นชูชกอยู่เพื่อกินหรือถือคติว่าท้องแตกดีกว่าของเหลือเพราะเมื่อถึงเวลาป่วยแล้วจะต้านไม่อยู่ โรคและอาการต่างๆจะจู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัว เพราะร่างกายเราไม่ได้ทำไว้ให้ “กินจนล้น” หากแต่สร้างไว้อย่างพอดีสำหรับให้กินอิ่มพอดีจนถึงว่า “หิวนิดๆ” ก็ยังอยู่ได้ ด้วยกระบวนการทดแทนพลังงานไว้ให้ใช้ยามจำเป็น เห็นได้จากเมื่อท่านอดอาหารจะเกิดอาการง่วงซึมเพื่อจะได้ลดการใช้พลังงานลง แต่ในทางตรงข้ามยามอิ่มล้นเปี่ยมสุขร่างกายก็จะเกิดการง่วงเหมือนกันแต่เป็นการง่วงแบบกะปลกกะเปลี้ยที่เกิดจากอวัยวะภายในทำงานอย่างหนัก แล้วก็มัก “ได้เรื่อง” ตามมาค่ะ
รู้อย่างนี้แล้วคราวหน้าถ้าคิดจะกินอย่างหนักหน่วง คงต้องยั้งปากให้กินแค่พออิ่มกันแล้วล่ะ และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วันด้วยนะค่ะ
สนับสนุนโดย:
23 ส.ค. 2567
8 พ.ย. 2561